Skip to main content

สหภาพยุโรป เนื้อหา ภูมิศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ เชิงอรรถ อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางeuropa.euแก้"Eurostat  – Population on 1 January 2016""IMF World Economic Outlook Database, October 2016""Gini coefficient of equivalised disposable income (source: SILC)""Common commercial policy""Agriculture and Fisheries Council""Overview of the European Union activities: Regional Policy""European Union""European Union"EU enlargement and the constitutions of Central and Eastern Europe"European Union reaches 500 Million through Combination of Accessions, Migration and Natural Growth"สหภาพยุโรปเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรปเว็บไซต์ของผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทยเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมThaieurope.netเพิ่มข้อมูล

สหภาพยุโรประบบการเมืองระบอบสหพันธรัฐบทความเกี่ยวกับ การเมืองการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์


อังกฤษรัฐสมาชิก 28 ประเทศเกษตรกรรมหนังสือเดินทางพื้นที่เชงเกนสหภาพการเงินยูโรสหภาพเหนือชาติสถาบันของสหภาพยุโรปที่ประชุมยุโรปคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปรัฐสภายุโรปคณะกรรมาธิการยุโรปศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปธนาคารกลางยุโรปศาลผู้สอบบัญชียุโรปประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปประชาคมเศรษฐกิจยุโรปอินเนอร์ซิกส์สนธิสัญญามาสทริชท์สนธิสัญญาลิสบอนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อดัชนีการพัฒนามนุษย์โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพองค์การการค้าโลกจี7จี-20อภิมหาอำนาจยอดเขามงบล็องเกรเอียนแอลป์เฟรนช์เกียนาภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนเบเนลักซ์โคเปนเฮเกนสิทธิมนุษยชนหลักนิติธรรมกรีนแลนด์จังหวัดปกครองตนเองสนธิสัญญาลิสบอนประเทศแอลเบเนียไอซ์แลนด์มาซิโดเนียมอนเตเนโกรเซอร์เบียตุรกีประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาคอซอวอสมาคมการค้าเสรียุโรปลิกเตนสไตน์นอร์เวย์พื้นที่เศรษฐกิจยุโรปสวิตเซอร์แลนด์อันดอร์ราโมนาโกซานมารีโนนครรัฐวาติกันสมาพันธรัฐสหพันธรัฐบุคคลธรรมดานิติบุคคลกฎหมายระหว่างประเทศรัฐเอกราชองค์การระหว่างประเทศที่ประชุมยุโรปคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปรัฐสภายุโรปคณะกรรมาธิการยุโรปศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปศาลผู้สอบบัญชียุโรปสภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติฝ่ายบริหารฝ่ายตุลาการธนาคารกลางดอนัลต์ ตุสก์สภายุโรปคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปการมีผู้แทนตามสัดส่วนฌอง-โคลด ยุงเคอร์องค์การการค้าโลกยูโรโซนยูโรดอลลาร์สหรัฐเครือจักรภพรัฐเอกราชไอซ์แลนด์นอร์เวย์ลิกเตนสไตน์สวิตเซอร์แลนด์สนธิสัญญามาสทริชต์กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปธนาคารกลางยุโรปธนาคารกลางเสถียรภาพราคาระบบธนาคารกลางยุโรปประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




สหภาพยุโรป




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา






























































































คำขวัญ: In varietate concordia   (ละติน)
"United in diversity"


เพลงสดุดี: ปีติศังสกานท์ (ทำนอง)




เมืองหลวง
เบลเยียม บรัสเซลส์ (โดยพฤตินัย)
เมืองใหญ่สุด
สหราชอาณาจักร ลอนดอน, ฝรั่งเศส ปารีส
ภาษาราชการ
เดมะนิม
ยุโรป
รัฐสมาชิก
การปกครอง สหภาพเศรษฐกิจและการเมือง
•  ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ลักเซมเบิร์ก ฌ็อง-โคลท ยุงเคอร์
•  ประธานที่ประชุมยุโรป
โปแลนด์ ดอนัลต์ ตุสก์
•  ประธานรัฐสภายุโรป
อิตาลี อันโทนิโอ ทาญานี
นิติบัญญัติ
  • คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

  • รัฐสภายุโรป

การก่อตั้ง
•  สนธิสัญญาโรม 25 มีนาคม 2500 
•  สนธิสัญญามาสทริชต์ 7 กุมภาพันธ์ 2535 
•  สนธิสัญญาลิสบอน 1 ธันวาคม 2552 
•  รับประเทศล่าสุดเป็นสมาชิก 1 กรกฎาคม 2556 
พื้นที่
•  รวม
4,381,376 ตร.กม. (7)
1,691,658 ตร.ไมล์ 
•  แหล่งน้ำ (%) 3.08
ประชากร
•  2559 (ประเมิน) 510,056,011[1] 
•  ความหนาแน่น 116.4 คน/ตร.กม. 
301.5 คน/ตร.ไมล์

จีดีพี (อำนาจซื้อ)
ปี 2560 (ประมาณ)
•  รวม $20.75 ล้านล้าน[2] (2)
•  ต่อหัว $40,600 

จีดีพี (ราคาตลาด)
ปี 2560 (ประมาณ)
•  รวม $16.97 ล้านล้าน[2] 
•  ต่อหัว $33,300[3] 

จีนี (2557)
30.9[4] 

HDI (2557)
0.865 
สกุลเงิน

  • ยูโร (€) (EUR; ยูโรโซน)


เขตเวลา (UTC+0 ถึง +2)
 •  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+1 ถึง +3)
โดเมนบนสุด .eu

เว็บไซต์ทางการ
europa.eu
รหัสโทรศัพท์ +3 และ +4

สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า[5]เกษตรกรรม[6] การประมงและการพัฒนาภูมิภาค[7] การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร


สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล[8][9][10] องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป


สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป[11] การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552


สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก[12] ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[13] นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ[14] สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต


.mw-parser-output .toclimit-2 .toclevel-1 ul,.mw-parser-output .toclimit-3 .toclevel-2 ul,.mw-parser-output .toclimit-4 .toclevel-3 ul,.mw-parser-output .toclimit-5 .toclevel-4 ul,.mw-parser-output .toclimit-6 .toclevel-5 ul,.mw-parser-output .toclimit-7 .toclevel-6 uldisplay:none



เนื้อหา





  • 1 ภูมิศาสตร์

    • 1.1 รัฐสมาชิก



  • 2 การเมือง

    • 2.1 โครงสร้างรัฐธรรมนูญ


    • 2.2 การปกครอง

      • 2.2.1 ที่ประชุมยุโรป


      • 2.2.2 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป


      • 2.2.3 รัฐสภา


      • 2.2.4 คณะกรรมาธิการ



    • 2.3 งบประมาณ


    • 2.4 อำนาจหน้าที่



  • 3 เศรษฐกิจ

    • 3.1 ตลาดภายใน


    • 3.2 สหภาพการเงิน


    • 3.3 พลังงาน



  • 4 เชิงอรรถ


  • 5 อ้างอิง


  • 6 แหล่งข้อมูลอื่น




ภูมิศาสตร์


รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปครอบคลุมพื้นที่ 4,423,147 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในสหภาพยุโรป คือ ยอดเขามงบล็องในเทือกเขาเกรเอียนแอลป์ (Graian Alps) มีความสูง 4,810.45 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จุดต่ำสุดในสหภาพยุโรปคือ แลมเมอฟยอร์เดน (Lammefjorden) ประเทศเดนมาร์ก และซาวด์เพลสปอลเดอร์ (Zuidplaspolder) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ความสูง 7 เมตรต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภูมิภาพ ภูมิอากาศและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปได้รับอิทธิพลจากแนวชายฝั่ง ซึ่งมีความยาว 65,993 กิโลเมตร


เมื่อรวมดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่นอกทวีปยุโรปแต่ยังเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว สหภาพยุโรปจะมีภูมิอากาศเกือบทุกชนิดตั้งแต่อาร์กติก (ยุโรปเหนือ-ตะวันออก) ถึงเขตร้อน (เฟรนช์เกียนา) ทำให้ค่าเฉลี่ยทางอุตุนิยมวิทยาของสหภาพยุโรปสิ้นความหมายโดยสิ้นเชิง ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (ยุโรปเหนือ-ตะวันตกและกลาง) ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (ยุโรปใต้) หรือภูมิอากาศอบอุ่นฤดูร้อนภาคพื้นทวีปหรือกึ่งเขตหนาว (บอลข่านเหนือและยุโรปกลาง)


ประชากรของสหภาพยุโรปมีความเป็นเมืองสูง โดยผู้อยู่อาศัยประมาณ 75% อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองในปี 2549 นครส่วนใหญ่กระจายทั่วสหภาพยุโรป แม้มีจำนวนมากกระจุกอยู่ในและรอบ ๆ เบเนลักซ์



รัฐสมาชิก


ดูบทความหลักที่: รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป, การขยายสหภาพยุโรป และ การขยายสหภาพยุโรปในอนาคต

สหภาพยุโรปเติบโตขึ้นจากรัฐผู้ก่อตั้งหกรัฐ ได้แก่ ประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก อิตาลี ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์ ผ่านการขยายในเวลาต่อมาเป็น 28 ประเทศในปัจจุบัน ประเทศเข้าร่วมสหภาพโดยกลายเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อตั้ง ฉะนั้นจึงอยู่ภายใต้เอกสิทธิ์และพันธกรณีของสมาชิกสภาพสหภาพยุโรป ดังนี้เป็นการมอบอำนาจอธิปไตยบางส่วนแก่สถาบันโดยแลกเปลี่ยนกับการมีผู้แทนในสถาบันเหล่านั้น มักเรียกการปฏิบัติดังนี้ว่า "การรวมอำนาจอธิปไตย" (pooling of sovereignty)


ในการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศนั้นต้องเข้าเกณฑ์โคเปนเฮเกนซึ่งนิยามไว้ ณ ที่ประชุมยุโรปในกรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปี 2536 เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้มีประชาธิปไตยเสถียรซึ่งเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม เศรษฐกิจแบบตลาดที่ทำหน้าที่ และการยอมรับพันธกรณีของสมาชิกภาพรวมทั้งกฎหมายสหภาพยุโรป การประเมินการบรรลุเกณฑ์ดังกล่าวของประเทศเป็นความรับผิดชอบของที่ประชุมยุโรป ยังไม่มีรัฐสมาชิกใดเคยออกจากสหภาพ แม้กรีนแลนด์ (จังหวัดปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก) ถอนตัวในปี 2528 ปัจจุบันสนธิสัญญาลิสบอนมีวรรคในข้อที่ 50 กำหนดสำหรับสมาชิกในการออกจากสหภาพยุโรป


ปัจจุบันมีหกประเทศซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นสมาชิก ได้แก่ ประเทศแอลเบเนีย ไอซ์แลนด์ มาซิโดเนีย มอนเตเนโกร เซอร์เบียและตุรกี แม้ไอซ์แลนด์ระงับการเจรจาไปในปี 2556 ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและคอซอวอได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้ที่อาจมีคุณสมบัติ โดยบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนากำลังยื่นคำขอเป็นสมาชิก


สี่ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) มิใช่สมาชิกสหภาพยุโรป แต่ได้ผูกมัดบางส่วนต่อเศรษฐกิจและข้อบังคับของสหภาพยุโรป ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์และนอร์เวย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดเดี่ยวผ่านพื้นที่เศรษฐกิจยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีความสัมพันธ์คล้ายกันผ่านสนธิสัญญาทวิภาคี ความสัมพันธ์ของจุลรัฐ อันดอร์รา โมนาโก ซานมารีโนและนครรัฐวาติกันมีการใช้เงินสกุลยูโรและขอบเขตความร่วมมืออื่น รัฐเอกราช 28 รัฐต่อไปนี้ประกอบเป็นสหภาพยุโรป คือ
























































































































































ชื่อ
เมืองหลวง

วันที่เข้าร่วม
ประชากร[1]พื้นที่ (กม.2)

ออสเตรีย

เวียนนา

199501011 มกราคม 2538

70068700471000000008,700,471

700483855000000000083,855

เบลเยียม

บรัสเซลส์

19570325ผู้ก่อตั้ง

700711289853000000011,289,853

700430528000000000030,528

บัลแกเรีย

โซเฟีย

200701011 มกราคม 2550

70067153784000000007,153,784

7005110994000000000110,994

โครเอเชีย

ซาเกร็บ

201307011 กรกฎาคม 2556

70064190669000000004,190,669

700456594000000000056,594

ไซปรัส

นิโคเซีย

200405011 พฤษภาคม 2547

7005848319000000000848,319

70039251000000000009,251

สาธารณรัฐเช็ก

ปราก

200405011 พฤษภาคม 2547

700710553843000000010,553,843

700478866000000000078,866

เดนมาร์ก

โคเปนเฮเกน

197301011 มกราคม 2516

70065707251000000005,707,251

700443075000000000043,075

เอสโตเนีย

ทาลลินน์

200405011 พฤษภาคม 2547

70061315944000000001,315,944

700445227000000000045,227

ฟินแลนด์

เฮลซิงกิ

199501011 มกราคม 2538

70065487308000000005,487,308

7005338424000000000338,424

ฝรั่งเศส

ปารีส

19570325ผู้ก่อตั้ง

700766661621000000066,661,621

7005640679000000000640,679

เยอรมนี

เบอร์ลิน

19570325ผู้ก่อตั้ง[a]

700782162000000000082,162,000

7005357021000000000357,021

กรีซ

เอเธนส์

198101011 มกราคม 2524

700710793526000000010,793,526

7005131990000000000131,990

ฮังการี

บูดาเปสต์

200401011 พฤษภาคม 2547

70069830485000000009,830,485

700493030000000000093,030

ไอร์แลนด์

ดับลิน

197301011 มกราคม 2516

70064658530000000004,658,530

700470273000000000070,273

อิตาลี

โรม

19570325ผู้ก่อตั้ง

700760665551000000060,665,551

7005301338000000000301,338

ลัตเวีย

ริกา

200405011 พฤษภาคม 2547

70061968957000000001,968,957

700464589000000000064,589

ลิทัวเนีย

วิลนีอัส

200405011 พฤษภาคม 2547

70062888558000000002,888,558

700465200000000000065,200

ลักเซมเบิร์ก

นครลักเซมเบิร์ก

19570325ผู้ก่อตั้ง

7005576249000000000576,249

70032586000000000002,586

มอลตา

วัลเลตตา

200405011 พฤษภาคม 2547

7005434403000000000434,403

7002316000000000000316

เนเธอร์แลนด์

อัมสเตอร์ดัม

19570325ผู้ก่อตั้ง

700716979120000000016,979,120

700441543000000000041,543

โปแลนด์

วอร์ซอ

200405011 พฤษภาคม 2547

700737967209000000037,967,209

7005312685000000000312,685

โปรตุเกส

ลิสบอน

198601011 มกราคม 2529

700710341330000000010,341,330

700492390000000000092,390

โรมาเนีย

บูคาเรสต์

200701011 มกราคม 2550

700719759968000000019,759,968

7005238391000000000238,391

สโลวาเกีย

บราติสลาวา

200405011 พฤษภาคม 2547

70065426252000000005,426,252

700449035000000000049,035

สโลวีเนีย

ลูบลิยานา

200405011 พฤษภาคม 2547

70062064188000000002,064,188

700420273000000000020,273

สเปน

มาดริด

198601011 มกราคม 2529

700746438422000000046,438,422

7005504030000000000504,030

สวีเดน

สต็อกโฮล์ม

199501011 มกราคม 2538

70069851017000000009,851,017

7005449964000000000449,964

สหราชอาณาจักร

ลอนดอน

197301011 มกราคม 2516

700765341183000000065,341,183

7005243610000000000243,610
รวม:
28 ประเทศ

510,056,011
4,475,757


การเมือง


สหภาพยุโรปดำเนินการตามหลักการให้ (conferral) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะภายในข้อจำกัดอำนาจหน้าที่ที่มอบหมายให้ตามสนธิสัญญา และการเสริมอำนาจปกครอง (subsidiarity) ซึ่งกล่าวว่า ควรกระทำเฉพาะเมื่อรัฐสมาชิกกระทำเพียงลำพังแล้วไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เพียงพอ กฎหมายที่สถาบันของสหภาพยุโรปออกสามารถผ่านได้หลายแบบ กล่าวโดยทั่วไป กฎหมายสามารถจำแนกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กฎหมายที่มีผลใช้บังคับโดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (ข้อบังคับ) และกฎหมายที่เจาะจงต้องการมาตรการนำไปปฏิบัติระดับชาติ (คำสั่ง)



โครงสร้างรัฐธรรมนูญ


การจำแนกประเภทสหภาพยุโรปในแง่กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายรัฐธรรมนูญมีการถกเถียงอย่างมาก สหภาพฯ เริ่มต้นเป็นองค์การระหว่างประเทศและค่อย ๆ พัฒนาเป็นสมาพันธรัฐ ทว่า ตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 สหภาพฯ ได้เพิ่มลักษณะสำคัญหลายประการของสหพันธรัฐ ดังเช่นผลโดยตรงของกฎหมายรัฐบาลระดับรวม (general level of government) ต่อปัจเจกบุคคล และการออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในกระบกวนการตัดสินใจของรัฐบาลระดับรวม โดยไม่กลายเป็นสหพันธรัฐโดยสภาพ ฉะนั้นปัจจุบันนักวิชาการจึงมองสหภาพฯ ว่าเป็นแบบกึ่งกลางระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ โดยเป็นตัวอย่างที่มิใช่โครงสร้างการเมืองทั้งสองแบบ ด้วยเหตุนี้ องค์การดังกล่าวจึงมีคำเรียกว่า มีลักษณะเฉพาะตัว (sui generis) แม้บางคนอาจแย้งว่าการเรียกแบบนี้ใช้ไม่ได้แล้ว


องค์การดังกล่าวเดิมใช้คำว่า "ประชาคม" และต่อมา "สหภาพ" อธิบายตนเอง ความยุ่งยากของการจำแนกประเภทเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างกฎหมายระดับชาติ (ซึ่งคนในบังคับของกฎหมายได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) และกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งคนในบังคับได้แก่รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ) นอกจากนี้ ยังสามารถมองในแง่ของข้อแตกต่างระหว่างประเพณีนิยมรัฐธรรมนูญของยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประเพณีนิยมยุโรป คำว่า สหพันธรัฐ เทียบเท่ากับรัฐสหพันธ์เอกราชในกฎหมายระหว่างประเทศ ฉะนั้นจึงไม่อาจเรียกสหภาพยุโรปว่าสหพันธรัฐได้โดยปราศจากคุณสมบัติ ทว่า มีการอธิบายโดยยึดแบบจำลองสหพันธ์หรือสหพันธ์โดยสภาพ ฉะนั้นจึงอาจเหมาะสมที่จะพิจารณาสหภาพฯ ว่าเป็นสหภาพรัฐสหพันธ์ (federal union of states) อันเป็นโครงสร้างเชิงความคิดระหว่างสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งเยอรมนีเรียกสหภาพยุโรปว่า ชตาเทนเวอร์บุนด์ เป็นโครงสร้างกึ่งกลางระหว่างชตาเทนบุนด์ (สมาพันธรัฐ) และบุนเดสส์ทาท (สหพันธรัฐ) ซึ่งเข้ากับมโนทัศน์นี้ สหภาพรัฐสหพันธ์อาจเป็นแบบการเมืองที่อยู่ยืนยาว ศาสตราจารย์แอนดรูว์ โมราฟซิกอ้างว่าสหภาพยุโรปไม่น่าจะพัฒนาต่อไปเป็นสหพันธรัฐ แต่อาจถึงเติบโตเต็มที่เป็นระบบรัฐธรรมนูญแล้ว



การปกครอง


สหภาพยุโรปมีเจ็ดสถาบัน ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป อำนาจหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแบ่งกันระหว่างคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและรัฐสภายุโรป ส่วนคณะกรรมาธิการยุโรปและที่ประชุมยุโรปในขอบเขตจำกัดเป็นผู้ดำเนินภาระงานฝ่ายบริหาร ธนาคารกลางยุโรปเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินของยูโรโซน ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ตีความและการใช้บังคับกฎหมายสหภาพยุโรปและประกันสนธิสัญญา ศาลผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบงบประมาณของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังมีองค์กรสนับสนุนซึ่งให้คำแนะนำสหภาพยุโรปหรือดำเนินการในด้านหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ




สถาบันของสหภาพยุโรป[15]


















คณะมนตรียุโรป

- กำหนดแรงผลักดันและทิศทาง -




Council of the EU and European Council.svg

คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

- สภานิติบัญญัติ -




Europarl logo.svg

รัฐสภายุโรป

- สภานิติบัญญัติ -




European Commission Logo.gif

คณะกรรมาธิการยุโรป

- ฝ่ายบริหาร -





Members of the European Council 2011





EU Council room





European Parliament





European Commission building



  • การประชุมสุดยอดของประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล ประธานคณะมนตรียุโรปและประธานคณะกรรมาธิการยุโรป

  • ให้แรงผลักดันการเมืองที่จำเป็นต่อการพัฒนาสหภาพและตั้งวัตถุประสงค์และลำดับความสำคัญทั่วไป

  • ไม่ออกกฎหมาย

  • ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์


  • ทำงานร่วมกับรัฐสภาเป็นสภานิติบัญญัติ

  • แบ่งปันอำนาจงบประมาณกับรัฐสภา

  • ประกันการประสานงานของนโยบายเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างและตั้งแนวปฏิบัติสำหรับนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม (CFSP)

  • ตัดสินใจความตกลงระหว่างประเทศ

  • ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์


  • ทำงานร่วมกับคณะมนตรีเป็นสภานิติบัญญัติ

  • แบ่งปันอำนาจงบประมาณกับคณะมนตรีและตัดสินใจงบประมาณในวาระสุดท้าย

  • กำหนดการควบคุมแบบประชาธิปไตยเหนือสถาบันซึ่งรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและอนุมัติสมาชิกของคณะกรรมาธิการ

  • ตั้งอยู่และมีการประชุมเต็มสภาในสทราซบูร์ แต่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์เป็นหลัก


  • เป็นฝ่ายบริหาร

  • ยื่นข้อเสนอกฎหมายใหม่ต่อรัฐสภาและคณะมนตรี

  • นำนโยบายไปปฏิบัติ

  • บริหารงบประมาณ

  • ประกันการปฏิบัติตามกฎหมายยุโรป ("ผู้พิทักษ์สนธิสัญญา")

  • เจรจาความตกลงระหว่างประเทศ

  • ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์

















Emblem of the Court of Justice of the European Union.svg

ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป

- ฝ่ายตุลาการ -




Logo European Central Bank.svg

ธนาคารกลางยุโรป

- ธนาคารกลาง -




CURIA RATIONUM logo.svg

ศาลผู้สอบบัญชียุโรป

- ผู้สอบบัญชีการเงิน -






ECJ room





European Central Bank





ECA building



  • ประกันการใช้บังคับและตีความเป็นรูปแบบเดียวกันซึ่งกฎหมายยุโรป

  • มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างรัฐสมาชิก สภาบัน ธุรกิจและปัจเจกบุคคล

  • ตั้งอยู่ในนครลักเซมเบิร์ก


  • ก่อตั้งร่วมกับธนาคารกลางแห่งชาติ ระบบธนาคารกลางยุโรป ฉะนั้นจึงกำหนดนโยบายการเงินของยูโรโซน

  • ประกันเสถียรภาพราคาในยูโรโซนโดยการควบคุมอุปสงค์เงิน

  • ตั้งอยู่ในแฟรงก์เฟิร์ต


  • ตรวจสอบการนำงบประมาณไปใช้อย่างเหมาะสม

  • ตั้งอยู่ในนครลักเซมเบิร์ก



ที่ประชุมยุโรป


ดูบทความหลักที่: ที่ประชุมยุโรป




ดอนัลต์ ตุสก์ ประธานที่ประชุมยุโรป


ที่ประชุมยุโรป (European Council) ให้ทิศทางการเมืองแก่สหภาพยุโรป มีการประชุมอย่างน้อยปีละสี่ครั้งและประกอบด้วยประธานที่ประชุมยุโรป (คนปัจจุบันคือ ดอนัลต์ ตุสก์) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและผู้แทนหนึ่งคนจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐ (อาจเป็นประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล) ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (คนปัจจุบันคือ เฟเดริกา โมเกรินี) ก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน มีผู้อธิบายว่าเป็น "ผู้มีอำนาจการเมืองสูงสุด" ของสหภาพยุโรป ที่ประชุมยุโรปเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาและการนิยามวาระและยุทธศาสตร์นโยบายของสหภาพยุโรป


ที่ประชุมยุโรปใช้บทบาทผู้นำของตนสะสางข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกและสถาบัน และระงับวิกฤตการเมืองและความไม่ลงรอยระหว่างปัญหาและนโยบายที่มีข้อโต้เถียง คณะมนตรีฯ แสดงออกภายนอกเป็น "ประมุขแห่งรัฐร่วมกัน" และให้สัตยาบันเอกสารสำคัญ (ตัวอย่างเช่น ความตกลงระหว่างประเทศและสนธิสัญญา)


ภาระหน้าที่ของประธานที่ประชุมยุโรป คือ การประกันการเป็นผู้แทนภายนอกของสหภาพยุโรป การขับเคลื่อนการเห็นพ้องต้องกันและระงับความแตกต่างในหมู่รัฐสมาชิก ทั้งระหว่างการประชุมของที่ประชุมยุโรปและสมัยระหว่างการประชุม


ระวังสับสนระหว่างที่ประชุมยุโรปกับสภายุโรป (Council of Europe) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นอิสระต่อสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ในสทราซบูร์




คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป


คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (หรือเรียก "คณะมนตรี" และ "สภารัฐมนตรี" ซึ่งเป็นชื่อเก่า) เป็นครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากรัฐสมาชิกแต่ละรัฐและประชุมกันในหลายองค์ประกอบขึ้นอยู่กับขอบเขตนโยบายที่กำลังจัดการอยู่ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบต่างกัน แต่ยังถือเป็นองค์กรหนึ่งเดียว นอกเหนือจากการทำหน้าที่สภานิติบัญญัติแล้ว คณะมนตรีฯ ยังใช้การทำหน้าที่บริหารในด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม



รัฐสภา




รัฐสภายุโรป


ดูบทความหลักที่: รัฐสภายุโรป

รัฐสภายุโรปเป็นอีกครึ่งหนึ่งของสภานิติบัญญัติยุโรป สมาชิก 751 คนของรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองสหภาพยุโรปทุกห้าปีโดยยึดหลักการมีผู้แทนตามสัดส่วน แม้สมาชิกรัฐสภายุโรปมาจากการเลือกตั้งระดับชาติ แต่นั่งประชุมตามกลุ่มการเมืองมากกว่าสัญชาติ แต่ละประเทศมีจำนวนที่นั่งจำนวนหนึ่งและแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งต่ำกว่าชาติโดยที่ไม่กระทบต่อสภาพสัดส่วนของระบบการออกเสียงลงคะแนน


รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปผ่านกฎหมายร่วมกันในแทบทุกด้านภายใต้กระบวนวิธีสภานิติบัญญัติทั่วไป ซึ่งยังใช้กับงบประมาณสหภาพยุโรปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรปต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยต้องอาศัยการอนุมัติจากรัฐสภาจึงจะดำรงตำแหน่งได้ ต้องรายงานต่อรัฐสภาและอยู่ภายใต้ญัตติไม่ไว้วางใจจากรัฐสภา ประธานรัฐสภายุโรป (คนปัจจุบันคือ อันโทนิโอ ทาญานี) ดำเนินบทบาทประธานรัฐสภาและเป็นผู้แทนภายนอก ประธานและรองประธานมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาทุกสองปีครึ่ง



คณะกรรมาธิการ


ดูบทความหลักที่: คณะกรรมาธิการยุโรป

คณะกรรมาธิการยุโรปเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปและรับผิดชอบต่อการริเริ่มกฎหมายและการดำเนินงานวันต่อวันของสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ยังถูกมองว่าเป็นผู้สั่งการบูรณาการยุโรป คณะกรรมาธิการฯ ดำเนินการราวกับเป็นการปกครองระบบรัฐสภา โดยมีกรรมาธิการ 28 คนสำหรับขอบเขตนโยบายต่าง ๆ มาจากรัฐสมาชิกรัฐละหนึ่งคน แต่กรรมาธิการถูกผูกมัดให้ดูแลผลประโยชน์ของสหภาพยุโรปโดยรวมมากกว่าของรัฐบ้านเกิดของตน


กรรมาธิการคนหนึ่งจาก 28 คนเป็นประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (คนปัจจุบันคือ ฌอง-โคลด ยุงเคอร์) มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองจากประธาน กรรมาธิการคนที่โดดเด่นที่สุดคือ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพด้านกิจการต่างประเทศและความมั่นคง ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการฯ และมาจากการเลือกโดยที่ประชุมยุโรปเช่นกัน แล้วกรรมาธิการอีก 26 คนที่เหลือมาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปโดยตกลงกับประธานฯ ที่ได้รับเสนอชื่อ กรรมาธิการ 28 คนรวมเป็นองค์กรเดียวอยู่ภายใต้การออกเสียงอนุมัติโดยรัฐสภายุโรป



งบประมาณ


สหภาพยุโรปตกลงงบประมาณ 120,700 ล้านยูโรสำหรับปี 2550 และ 864,300 ล้านยูโรสำหรับช่วงปี 2550–2556 คิดเป็น 1.10% และ 1.05% สำหรับการพยากรณ์รายได้มวลรวมประชาชาติของอียู-27 สำหรับสองช่วงตามลำดับ ในปี 2503 งบประมาณของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปขณะนั้นคิดเป็น 0.03% ของจีดีพี


ในปี 2553 งบประมาณ 141,500 ล้านยูโร รายการรายจ่ายเดี่ยวใหญ่สุด คือ "ความเชื่อมแน่นและความสามารถแข่งขัน" โดยคิดเป็นประมาณ 45% ของงบประมาณทั้งหมด รองลงมาเป็น "เกษตรกรรม" โดยคิดเป็นประมาณ 31% ของทั้งหมด "การพัฒนาชนบท สิ่งแวดล้อมและการประมง" คิดเป็นประมาณ 11% "การปกครอง" คิดเป็นประมาณ 6% "สหภาพยุโรปที่เป็นหุ้นส่วนโลก" และ "ความเป็นพลเมือง เสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม" คิดเป็นประมาณ 6% และ 1% ตามลำดับ


ศาลผู้สอบบัญชีมีข้อผูกพันตามกฎหมายจัดหา "คำแถลงการประกันในเรื่องความน่าเชื่อถือของบัญชีและความถูกต้องตามกฎหมายและความถูกต้องตามระเบียบของธุรกรรมพื้นเดิม" แก่รัฐสภาและคณะมนตรีฯ ศาลฯ ยังให้ความเห็นและข้อเสนอกฎหมายการเงินและการกระทำต่อต้านการฉ้อฉล รัฐสภาใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจว่าจะอนุมัติการจัดการงบประมาณของคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่


ศาลผู้สอบบัญชียุโรปลงนามบัญชีสหภาพยุโรปทุกปีตั้งแต่ปี 2550 และได้แสดงให้เห็นว่าข้อผิดพลาดส่วนมากเกิดขึ้นในระดับชาติ ในรายงานปี 2552 ผู้สอบบัญชีพบว่ารายจ่ายของสหภาพฯ ห้าด้าน เกษตรกรรมและกองทุนความเชื่อมแน่น ได้รับผลกระทบอย่างสำคัญจากข้อผิดพลาด คณะกรรมาธิการยุโรปประเมินในปี 2552 ว่าผลการเงินของความไม่ถูกต้องคิดเป็น 1,863 ล้านยูโร



อำนาจหน้าที่


รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปคงอำนาจทั้งหมดที่มิได้ถูกมอบอย่างชัดเจนให้สหภาพยุโรป ในบางขอบเขต สหภาพยุโรปมีอำนาจหน้าที่สิทธิ์ขาดเฉพาะ เหล่านี้เป็นพื้นที่ซึ่งรัฐสมาชิกสละความสามารถใด ๆ ในการตรากฎหมาย ในขอบเขตอื่น สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกมีอำนาจหน้าที่ร่วมกันออกกฎหมาย ขณะที่ทั้งสองฝ่ายสามารถออกกฎหมายได้ แต่รัฐสมาชิกสามารถออกกฎหมายเฉพาะจนถึงขอบเขตที่สหภาพยุโรปไม่มีขอบเขตเท่านั้น ในขอบเขตนโยบายอื่น สหภาพยุโรปสามารถประสานงาน สนับสนุนและส่งเสริมการกระทำของรับสมาชิกเท่านั้น แต่ไม่สามารถตรากฎหมายโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกฎหมายระดับชาติให้สอดคล้องกันได้


ข้อเท็จจริงว่าขอบเขตนโยบายหนึ่ง ๆ จัดอยู่ในหมวดอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้บ่งชี้เสมอไปว่ามีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติใดในการตรากฎหมายในขอบเขตนโยบายนั้น มีการใช้วิธีดำเนินการนิติบัญญัติต่าง ๆ ในหมวดอำนาจหน้าที่เดียวกัน และแม้แต่ในขอบเขตนโยบายเดียวกัน


การแบ่งอำนาจหน้าที่ในขอบเขตนโยบายต่าง ๆ ระหว่างรัฐสมาชิกและสหภาพฯ แบ่งออกเป็นสามหมวดดังนี้









ดังที่ปรากฏในมาตรา 1 ของส่วนที่ 1 แห่งสนธิสัญญารวมว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป

อำนาจหน้าที่สิทธิ์ขาดจำเพาะ

อำนาจหน้าที่ร่วม

อำนาจหน้าที่สนับสนุน

"สหภาพฯ มีอำนาจหน้าที่สิทธิ์ขาดเฉพาะในการออกคำสั่งและสรุปความตกลงระหว่างประเทศเมื่อกำหนดไว้ในรัฐบัญญัติของสหภาพฯ แล้ว"

  • สหภาพศุลกากร

  • การสถาปนากฎการแข่งขันที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ของตลาดภายใน

  • นโยบายการเงินของรัฐสมาชิกซึ่งใช้เงินสกุลยูโร

  • การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพทางทะเลภายใต้นโยบายการประมงร่วม

  • นโยบายพาณิชย์ร่วม

  • การสรุปความตกลงระหว่างประเทศบางฉบับ



"รัฐสมาชิกไม่อาจใช้อำนาจหน้าที่ในขอบเขตซึ่งสหภาพฯ ได้กระทำแล้ว"

  • ตลาดภายใน

  • นโยบายสังคม สำหรับแง่ที่นิยามไว้ในสนธิสัญญาฯ นี้

  • ความเชื่อมแน่นทางเศรษฐกิจ สังคมและดินแดน

  • เกษตรกรรมและการประมง โดยยกเว้นการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล

  • สิ่งแวดล้อม

  • การคุ้มครองผู้บริโภค

  • การขนส่ง

  • ข่ายข้ามยุโรป (trans-European networks)

  • พลังงาน

  • ขอบเขตเสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม

  • ข้อกังวลความปลอดภัยร่วมในปัญหาสาธารณสุข สำหรับแง่ที่นิยามไว้ในสนธิสัญญาฯ นี้



"การใช้อำนาจหน้าที่ของสหภาพฯ จะต้องไม่เป็นผลให้รัฐสมาชิกถูกกีดกันมิให้ใช้อำนาจหน้าที่ของตนในด้าน" …

  • การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและอวกาศ

  • ความร่วมมือการพัฒนา การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม


"สหภาพฯ ประสานงานหรือนำไปปฏิบัติซึ่งนโยบายของรัฐสมาชิกเพิ่มเติมจากนโยบายร่วม ซึ่งไม่ระบุไว้ที่อื่น"

  • การประสานงานนโยบายเศรษฐกิจ การจ้างงานและสังคม

  • นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงและการกลาโหมร่วม



"สหภาพฯ สามารถดำเนินการเพื่อสนับสนุน ประสานงานหรือส่งเสริมการกระทำของรัฐสมาชิกในด้าน" …

  • การคุ้มครองและการพัฒนาสุขภาพมนุษย์

  • อุตสาหกรรม

  • วัฒนธรรม

  • การท่องเที่ยว

  • การศึกษา เยาวชน กีฬาและการฝึกอาชีวะ

  • การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (การป้องกันภัยพิบัติ)

  • ความร่วมมือด้านการปกครอง



เศรษฐกิจ


สหภาพยุโรปสถาปนาตลาดเดียวทั่วดินแดนของสมาชิกทั้งหมดซึ่งมีพลเมือง 508 ล้านคน ในปี 2557 สหภาพยุโรปมีจีดีพีรวมกัน 18.640 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ (international dollar) คิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกเรียงตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) สหภาพยุโรปที่เป็นองค์การการเมืองมีผู้แทนในองค์การการค้าโลก รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปมีความมั่งคั่งสุทธิประเมินมากที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของความมั่งคั่งทั่วโลก 223 ล้านล้านดอลลาร์ระหว่างประเทศ


รัฐสมาชิก 19 รัฐเข้าร่วมสหภาพการเงิน เรียก ยูโรโซน ซึ่งใช้เงินตราเดี่ยวคือ ยูโร สหภาพการเงินมีพลเมืองสหภาพยุโรป 338 ล้านคน ยูโรเป็นเงินตราสำรองใหญ่สุดอันดับสองตลอดจนเงินตราที่มีการซื้อขายมากที่สุดอันดับสองของโลกรองจากดอลลาร์สหรัฐ


ในบรรดา 500 บรรษัทใหญ่สุดในโลกวัดตามรายได้ในปี 2553 จำนวนนี้มี 161 บรรษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป ในปี 2559 อัตราการว่างงานในสหภาพยุโรปอยู่ที่ 8.9% ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ −0.9% ของจีดีพี ค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหภาพยุโรปอยู่ที่ประมาณ $20,000 ในปี 2558 ซึ่งคิดเป็นประมาณกึ่งหนึ่งของค่าจ้างสุทธิต่อปีเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา


มีความผันแปรของจีดีพี (พีพีพี) ต่อหัวอย่างสำคัญภายในรัฐสหภาพยุโรปหนึ่ง ๆ ความแตกต่างระหว่างภูมิภาคที่รวยและจนที่สุด (ภูมิภาค NUTS-2 ตามการตั้งชื่อหน่วยดินแดนเพื่อสถิติจำนวน 276 ภูมิภาค) ในปี 2557 มีพิสัยระหว่าง 30% ของค่าเฉลี่ยสมาชิกสหภาพยุโรป 28 รัฐถึง 539% หรือตั้งแต่ 8,200 ถึง 148,000 ยูโร (ประมาณ 9,000 ถึง 162,000 ดอลลาร์สหรัฐ)


กองทุนโครงสร้างและกองทุนความเชื่อมแน่นกำลังสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาคด้อยพัฒนาของสหภาพยุโรป ดินแดนดังกล่าวส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐยุโรปกลางและใต้ หลายกองทุนจัดหาการช่วยเหลือฉุกเฉิน การสนับสนุนสมาชิกผู้สมัครเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศของตนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (Phare, ISPA, และ SAPARD) และสนับสนุนเครือจักรภพรัฐเอกราช (TACIS) TACIS ปัจจบุนัเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุโรปเอดทั่วโลก โครงการกรอบการวิจัยและเทคโนโลยีสหภาพยุโรปสนับสนุนการวิจัยที่ดำเนินการโดยกลุ่มจากสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศเพื่อมุ่งสู่พื้นที่การวิจัยยุโรปเดียว



ตลาดภายใน


วัตถุประสงค์แกนกลางดั้งเดิมสองประการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปคือการพัฒนาตลาดร่วม ซึ่งต่อมากลายเป็นตลาดเดียว และสหภาพศุลกากรระหว่างรัฐสมาชิก ตลาดเดียวเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีซึ่งสินค้า ทุน บุคคลและบริการภายในสหภาพยุโรป และสหภาพศุลกากรซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บังคับอากรศุลกากรภายนอกร่วมต่อสินค้าทุกชนิดที่เข้าสู่ตลาดดังกล่าว เมื่อสินค้าถูกรับเข้าตลาดแล้วจะไม่มีการเก็บอากรศุลกากร ภาษีเลือกปฏิบัติหรือโควตานำเข้าอีกเมื่อมีการเคลื่อนย้ายภายใน รัฐสมาชิกที่มิใช่สหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์และสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมในตลาดเดียวแต่ไม่เข้าร่วมสหภาพศุลกากร การค้ากึ่งหนึ่งในสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้กฎหมายซึ่งสหภาพยุโรปปรับปรุงให้สอดคล้องกัน


การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีตั้งใจให้อนุญาตการเคลื่อนย้ายการลงทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์และการซื้อหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ก่อนหน้ามีแรงขับสู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนาข้อกำหนดทุนเป็นไปอย่างเชื่องช้า หลังสนธิสัญญามาสทริชต์ มีหนังสือประชุมคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปซึ่งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเสรีภาพซึ่งถูกละเลยในทีแรกนี้ การเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีเป็นเอกลักษณ์ถึงขนาดที่มีการให้แก่รัฐที่มิใช่สมาชิกโดยเสมอกัน


การเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างเสรีหมายความว่าพลเมืองสหภาพยุโรปสามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีระหว่างรัฐสมาชิกเพื่ออยู่อาศัย ทำงาน ศึกษาหรือเกษียณในประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายดังกล่าวต้องการพิธีรีตรองทางการปกครองและการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพจากรัฐอื่นลดลง


การเคลื่อนย้ายบริการและสถานที่ประกอบการอย่างเสรีทำให้บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระเคลื่อนย้ายระหว่างรัฐสมาชิกเพื่อจัดหาบริการเป็นการชั่วคราวหรือถาวรได้ แม้บริการจะคิดเป็น 60–70% ของจีดีพี แต่กฎหมายในขอบเขตดังกล่าวยังไม่มีการพัฒนาเท่ากับในขอบเขตอื่น ส่วนนี้มีการจัดการโดยมีการผ่านคำสั่งเรื่องบริการในตลาดภายในซึ่งมุ่งเปิดเสรีการจัดหาบริการให้ข้ามพรมแดน ตามสนธิสัญญาฯ การจัดหาบริการให้เป็นเสรีภาพตกค้างซึ่งใช้บังคับได้ต่อเมื่อไม่มีการใช้เสรีภาพอื่น



สหภาพการเงิน


การสถาปนาเงินตราเดียวยุโรปกลายเป็นวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 2512 ต่อมาในปี 2535 หลังได้เจรจาโครงสร้างและวิธีดำเนินการของสหภาพเงินตราแล้ว รัฐสมาชิกลงนามสนธิสัญญามาสทริชต์และถูกผูกพันตามกฎหมายให้บรรลุกฎที่มีการตกลงกันซึ่งรวมถึงเกณฑ์บรรจบหากต้องการเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐที่ต้องการเข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปเสียก่อน


ในปี 2542 สหภาพการเงินเริ่มต้น ทีแรกเป็นเงินตราบัญชีโดยมีรัฐสมาชิกสิบเอ็ดรัฐเข้าร่วม ในปี 2545 เงินตราดังกล่าวมีการใช้อย่างสมบูรณ์ เมื่อมีการออกธนบัตรและเหรียญยูโรและเงินตราประจำชาติเริ่มต้นหายไปในยูโรโซน ซึ่งขณะนั้นมีรัฐสมาชิก 12 รัฐ ยูโรโซน (ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร) ได้เติบโตเป็น 19 ประเทศนับแต่นั้น


ยูโรและนโยบายการเงินของรัฐที่ใช้ในความตกลงกับสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดย ECB เป็นธนาคารกลางสำหรับยูโรโซน ฉะนั้นจึงควบคุมนโยบายการเงินในขอบเขตนั้นโดยมีวาระเพื่อธำรงเสถียรภาพราคา ตั้งอยู่ ณ ใจกลางของระบบธนาคารกลางยุโรป ซึ่งรวบรวมธนาคารกลางแห่งชาติทั่วทั้งสหภาพยุโรปและมีคณะมนตรีใหญ่ (General Council) เป็นผู้ควบคุม ซึ่งคณะมนตรีใหญ่นี้ประกอบด้วยประธานธนาคารกลางยุโรปที่มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมยุโรป รองประธานธนาคารกลางยุโรปและผู้ว่าการธนาคารกลางประจำชาติของรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 28 รัฐ


ระบบการควบคุมดูแลการเงินยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมโครงสร้างของโครงการควบคุมดูแลการเงินของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยสามหน่วยงาน ได้แก่ การธนาคารยุโรป การประกันภัยและบำนาญอาชีพยุโรป และการหลักทรัพย์และตลาดยุโรป ในการเติมเต็มกรอบนี้ ยังมีคณะกรรมการความเสี่ยงเป็นระบบยุโรป (European Systemic Risk Board) ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป จุดมุ่งหมายของระบบควบคุมการเงินนี้คือเพื่อประกันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป


เพื่อป้องกันรัฐที่เข้าร่วมมิให้เผชิญปัญหาหรือวิกฤตการเงินหลังเข้าร่วมสหภาพการเงิน รัฐถูกผูกพันในสนธิสัญญามาสทริชต์ในบรรลุข้อผูกพันการเงินและวิธีดำเนินการที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อแสดงวินัยงบประมาณและการบรรจบทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระดับสูง ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการขาดดุลภาครัฐมากเกินและจำกัดหนี้สาธารณะที่ระดับยั่งยืน



พลังงาน


ในปี 2549 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 27 รัฐมีการบริโภคพลังงานในแผ่นดินทั้งสิ้น 1,825 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมัน (toe) ประมาณ 46% ของพลังงานที่บริโภคมีการผลิตภายในรัฐสมาชิก ขณะที่อีก 54% มาจากการนำเข้า ในสถิติเหล่านี้ พลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นพลังงานหลักที่ผลิตในสหภาพยุโรป โดยไม่คำนึงถึงแหล่งยูเรเนียม ซึ่งมีการผลิตในสหภาพยุโรปน้อยกว่า 3%


สหภาพยุโรปมีอำนาจนิติบัญญัติในขอบเขตนโยบายพลังงานเป็นส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ นโยบายดังกล่าวมีเหง้าในประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป การริเริ่มนโยบายพลังงานยุโรปแบบบังคับและครอบคุลมมีการอนุมัติในการประชุมที่ประชุมยุโรปในเดือนตุลาคม 2548 และมีการพิมพ์เผยแพร่นโยบายฉบับร่างนโยบายแรกในเดือนมกราคม 2550


สหภาพยุโรปมีห้าจุดหลักในนโยบายพลังงาน ได้แก่ เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายใน ส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นความเชื่อมโยงระหว่างสายไฟฟ้า ทำให้หลากหลายซึ่งทรัพยากรพลังงานโดยมีระบบสนองวิกฤตที่ดีขึ้น สถาปนาโครงสนธิสัญญาใหม่สำหรับความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศรัสเซียขณะที่พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐที่อุดมไปด้วยพลังงานในเอเชียกลางและแอฟริกาเหนือ ใช้อุปสงค์พลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นขณะที่เพิ่มการพาณิชย์พลังงานหมุนเวียน และสุดท้ายเพิ่มเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีพลังงานใหม่


ในปี 2550 ประเทศสหภาพยุโรปทั้งหมดนำเข้า 82% ของอุปทานน้ำมัน 57% ของอุปทานแก๊สธรรมชาติ และ 97.48% ของอุปทานยูเรเนียม มีการพึ่งพาพลังงานรัสเซียอย่างมากซึ่งสหภาพยุโรปกำลังพยายามลด



เชิงอรรถ




  1. On 01990-10-03-3 ตุลาคม 1990, the constituent states of the former German Democratic Republic acceded to the Federal Republic of Germany, automatically becoming part of the EU.



อ้างอิง




  1. 1.01.1 "Eurostat  – Population on 1 January 2016". European Commission. สืบค้นเมื่อ 11 July 2016..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  2. 2.02.1 "IMF World Economic Outlook Database, October 2016". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.


  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง
    ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ imf



  4. "Gini coefficient of equivalised disposable income (source: SILC)". Eurostat Data Explorer. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.


  5. "Common commercial policy". Europa Glossary. Europa web portal. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.


  6. "Agriculture and Fisheries Council". The Council of the European Union. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.


  7. "Overview of the European Union activities: Regional Policy". Europa web portal. สืบค้นเมื่อ 6 September 2008.


  8. "European Union". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 1 July 2009. international organisation comprising 27 European countries and governing common economic, social, and security policies....


  9. "European Union". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.


  10. Anneli Albi (2005). "Implications of the European constitution". EU enlargement and the constitutions of Central and Eastern Europe. Cambridge, UK: Cambridge University Press, 2008. p. 204. ISBN 90-6704-285-4. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011. In practical terms, the EU is perhaps still best characterised as a 'supranational organisation sui generis': this term has proved relatively uncontroversial in respect of national constitutional sensitivities, being at the same time capable of embracing new facets of integration


  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง
    ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ EU1993



  12. "European Union reaches 500 Million through Combination of Accessions, Migration and Natural Growth". Vienna Institute of Demography.


  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง
    ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 2011-IMG-GDP



  14. [1]


  15. Consolidated version of the Treaty on European Union/Title III: Provisions on the Institutions




แหล่งข้อมูลอื่น




  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป

  • เว็บไซต์ของผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย

  • เว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม


  • Thaieurope.net เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมข่าวสารของสหภาพยุโรป จัดทำโดยหน่วยราชการไทยในยุโรป ประสานงานโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์










ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=สหภาพยุโรป&oldid=8270522"










รายการเลือกการนำทาง



























(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.948","walltime":"1.313","ppvisitednodes":"value":12641,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":322724,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":57996,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":10,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":26,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":31262,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 819.388 1 -total"," 32.07% 262.771 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_ประเทศ"," 20.67% 169.335 4 แม่แบบ:Collapsible_list"," 16.48% 135.010 28 แม่แบบ:Flaglist"," 15.33% 125.615 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 11.96% 97.965 9 แม่แบบ:Cite_web"," 10.40% 85.206 28 แม่แบบ:Flagcountry"," 9.98% 81.795 3 แม่แบบ:Navbox"," 9.91% 81.209 56 แม่แบบ:Nts"," 8.05% 65.930 26 แม่แบบ:Flagicon"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.138","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":3694030,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1304","timestamp":"20190603084425","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e2au0e2bu0e20u0e32u0e1eu0e22u0e38u0e42u0e23u0e1b","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q458","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q458","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2004-07-30T12:56:31Z","dateModified":"2019-05-04T18:40:19Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b7/Flag_of_Europe.svg"(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":167,"wgHostname":"mw1333"););

Popular posts from this blog

Club Baloncesto Breogán Índice Historia | Pavillón | Nome | O Breogán na cultura popular | Xogadores | Adestradores | Presidentes | Palmarés | Historial | Líderes | Notas | Véxase tamén | Menú de navegacióncbbreogan.galCadroGuía oficial da ACB 2009-10, páxina 201Guía oficial ACB 1992, páxina 183. Editorial DB.É de 6.500 espectadores sentados axeitándose á última normativa"Estudiantes Junior, entre as mellores canteiras"o orixinalHemeroteca El Mundo Deportivo, 16 setembro de 1970, páxina 12Historia do BreogánAlfredo Pérez, o último canoneiroHistoria C.B. BreogánHemeroteca de El Mundo DeportivoJimmy Wright, norteamericano do Breogán deixará Lugo por ameazas de morteResultados de Breogán en 1986-87Resultados de Breogán en 1990-91Ficha de Velimir Perasović en acb.comResultados de Breogán en 1994-95Breogán arrasa al Barça. "El Mundo Deportivo", 27 de setembro de 1999, páxina 58CB Breogán - FC BarcelonaA FEB invita a participar nunha nova Liga EuropeaCharlie Bell na prensa estatalMáximos anotadores 2005Tempada 2005-06 : Tódolos Xogadores da Xornada""Non quero pensar nunha man negra, mais pregúntome que está a pasar""o orixinalRaúl López, orgulloso dos xogadores, presume da boa saúde económica do BreogánJulio González confirma que cesa como presidente del BreogánHomenaxe a Lisardo GómezA tempada do rexurdimento celesteEntrevista a Lisardo GómezEl COB dinamita el Pazo para forzar el quinto (69-73)Cafés Candelas, patrocinador del CB Breogán"Suso Lázare, novo presidente do Breogán"o orixinalCafés Candelas Breogán firma el mayor triunfo de la historiaEl Breogán realizará 17 homenajes por su cincuenta aniversario"O Breogán honra ao seu fundador e primeiro presidente"o orixinalMiguel Giao recibiu a homenaxe do PazoHomenaxe aos primeiros gladiadores celestesO home que nos amosa como ver o Breo co corazónTita Franco será homenaxeada polos #50anosdeBreoJulio Vila recibirá unha homenaxe in memoriam polos #50anosdeBreo"O Breogán homenaxeará aos seus aboados máis veteráns"Pechada ovación a «Capi» Sanmartín e Ricardo «Corazón de González»Homenaxe por décadas de informaciónPaco García volve ao Pazo con motivo do 50 aniversario"Resultados y clasificaciones""O Cafés Candelas Breogán, campión da Copa Princesa""O Cafés Candelas Breogán, equipo ACB"C.B. Breogán"Proxecto social"o orixinal"Centros asociados"o orixinalFicha en imdb.comMario Camus trata la recuperación del amor en 'La vieja música', su última película"Páxina web oficial""Club Baloncesto Breogán""C. B. Breogán S.A.D."eehttp://www.fegaba.com

Vilaño, A Laracha Índice Patrimonio | Lugares e parroquias | Véxase tamén | Menú de navegación43°14′52″N 8°36′03″O / 43.24775, -8.60070

Cegueira Índice Epidemioloxía | Deficiencia visual | Tipos de cegueira | Principais causas de cegueira | Tratamento | Técnicas de adaptación e axudas | Vida dos cegos | Primeiros auxilios | Crenzas respecto das persoas cegas | Crenzas das persoas cegas | O neno deficiente visual | Aspectos psicolóxicos da cegueira | Notas | Véxase tamén | Menú de navegación54.054.154.436928256blindnessDicionario da Real Academia GalegaPortal das Palabras"International Standards: Visual Standards — Aspects and Ranges of Vision Loss with Emphasis on Population Surveys.""Visual impairment and blindness""Presentan un plan para previr a cegueira"o orixinalACCDV Associació Catalana de Cecs i Disminuïts Visuals - PMFTrachoma"Effect of gene therapy on visual function in Leber's congenital amaurosis"1844137110.1056/NEJMoa0802268Cans guía - os mellores amigos dos cegosArquivadoEscola de cans guía para cegos en Mortágua, PortugalArquivado"Tecnología para ciegos y deficientes visuales. Recopilación de recursos gratuitos en la Red""Colorino""‘COL.diesis’, escuchar los sonidos del color""COL.diesis: Transforming Colour into Melody and Implementing the Result in a Colour Sensor Device"o orixinal"Sistema de desarrollo de sinestesia color-sonido para invidentes utilizando un protocolo de audio""Enseñanza táctil - geometría y color. Juegos didácticos para niños ciegos y videntes""Sistema Constanz"L'ocupació laboral dels cecs a l'Estat espanyol està pràcticament equiparada a la de les persones amb visió, entrevista amb Pedro ZuritaONCE (Organización Nacional de Cegos de España)Prevención da cegueiraDescrición de deficiencias visuais (Disc@pnet)Braillín, un boneco atractivo para calquera neno, con ou sen discapacidade, que permite familiarizarse co sistema de escritura e lectura brailleAxudas Técnicas36838ID00897494007150-90057129528256DOID:1432HP:0000618D001766C10.597.751.941.162C97109C0155020